คอนกรีตห้องเย็น
ห้องเย็นที่มีอุณภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และ มีการขัดสีจากล้อรถ และ อุปกรณ์ การขนถ่ายและจัดเก็บสินค้า จำเป็นที่จะต้องใช้คอนกรีตที่ออกแบบแตกต่างไปจากคอนกรีตทั่วไป ซึ่งคอนกรีตทั่วไปที่แข็งตัวแล้ว จะมีน้ำอยู่จำนวนหนึ่งเหลืออยู่ใน ช่องว่าง Capillary Pores และเมื่ออุณหภูมิลดลงถึงจุดเยือกแข็ง น้ำที่หลงเหลืออยู่ในช่องว่างจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้นและขยายตัวทำให้คอนกรีตแตกร้าว และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น น้ำในช่องว่างจะละลายและเคลื่อนที่ไปอยู่ตามรอยแตก และ เมื่ออุณหภูมิลดลงอีกครั้งน้ำในรอยแตกนี้ก็จะขยายตัวดันให้รอยแตกขยายใหญ่ขึ้น ขบวนการที่เกิดนี้จะเกิดสลับไปมาอยู่ตลอดเวลาไปเรื่อยๆ จนทำให้คอนกรีตเสียรูป และ เสียกำลังในที่สุด การป้องกัน และ ชลอความเสียหายจากขบวนการนี้ทำได้โดยการใช้คอนกรีตที่ออกแบบให้มีปริมาณอากาศ 5-7 % แทรกอยู่ในเนื้อคอนกรีต ฟองอากาศเหล่านี้จะเป็นช่องว่างที่ไม่ติดกันแทรกอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยที่ไม่มีน้ำขังอยู่ ทำหน้าที่เป็นช่องว่างรองรับการขยายตัวของน้ำในช่องว่าง Capillary Pores เมื่ออุณภูมิลดต่ำลงจนต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และ ช่วยให้คอนกรีตเกิดการไหลลื่นกว่าปกติทำให้การใช้น้ำในการผสมลดลงและนั้นก็จะเป็นการลดช่องว่าง Capillary Pores ลง อย่างไรก็ดีจุดที่อ่อนแอที่สุดสำหรับคอนกรีตห้องเย็นคือ บริเวณที่คอนกรีตได้รับการเปลี่ยนแปลงจากการเพิ่มขึ้น และ ลดลงของอุณหภูมิ บ่อยๆ เช่นบริเวณหน้าประตูห้องเย็น ดังนั้น คอนกรีตที่ใช้บริเวณนี้ควรต้องได้รับการออกแบบ และ ป้องกันมากกว่าจุดอื่นๆ
การออกแบบ
ในการออกแบบคอนกรีตสำหรับห้องเย็นที่มีอุณภูมิต่ำจำเป็นต้องออกแบบโดยให้มีคุณสมบัติดังนี้ ออกแบบโดยให้มี W/C ต่ำๆใช้สารกักกระจายฟองอากาศ โดยออกแบบให้มีอากาศในคอนกรีต 3-7%(ตามอุณหภูมิใช้งาน )และ ออกแบบให้มี จำนวนปูนซีเมนต์ มากพอที่จะทนต่อการเสียดสี การรับกำลังอาจจะออกแบบให้อยู่ในช่วง300-400กก/ตร.ซม.และ การตวรจสอบคุณภาพก่อนใช้งานที่จำเป็น คือการตรวจสอบปริมาณอากาศในคอนกรีต ด้วย Air Meter
น้ำยาผสมคอนกรีตที่จำเป็นต้องใส่ เพื่อเพิ่มฟองอาศในคอนกรีต คือ Air Entaining Admixture มีอัตราส่วนผสมแนะนำดังนี้
- Cement Type I 400 kg
- Sand FM 2.5-3.0 830 kg
- Rock 19 mm. 1100 kg
- Water 168 kg
- Conplast SP 431TH 3200 cc
- Air Entraining Agent 150-200 cc
- Air Contain Approximate 5-7 %
- Slump Init. Approximate 10-12 cm