ReadyPlanet.com
dot
dot
น้ำยาผสมคอนกรีต
dot
bulletเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้า
dot
คอนกรีตมวลเบา
dot




admixture article

สารเคมีผสมเพิ่มในคอนกรีต (concrete admixture)

              สารเคมีผสมเพิ่มในงานคอนกรีต หรือ น้ำยาผสมคอนกรีต มีส่วนสำคัญในการเพิ่มคุณสมบัติคอนกรีตให้ดีขึ้น โดยปกติคอนกรีตที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำยาจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ชั่วโมง และ มีความต้องการในการใช้น้ำในอัตราที่สูง ทำให้การใช้งานมีข้อจำกัดและต้นทุนที่สูงจากการต้องใช้ปริมาณปูนซีเมนต์มากเพื่อให้ได้ค่ากำลังอัดที่ต้องการ น้ำยาผสมคอนกรีตมีส่วนช่วยให้คอนกรีตมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นดังนี้
               -ช่วยยืดเวลาการแข็งตัวคอนกรีต ทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้น และ สามารถกำหนดการแข็งตัวได้ตามความต้องการ
               -ช่วยลดจำนวนน้ำในการผสมสามารถลดจำนวนปูนซีเมนต์ที่ใช้ได้
               -ช่วยกระจายเม็ดปูนซีเมนต์ได้ดี การผสมทำได้เร็ว และ เม็ดซีเมนต์กระจายตัวสม่ำเสมอ
               -เพิ่มคุณสมบัติคอนกรีตให้เกิดความคงทนต่อสภาวะที่เป็นอันตรายต่อคอนกรีต
               -เพิ่มคุณสมบัติที่เราต้องการในคอนกรีต เช่น คอนกรีตกำลังสูง, คอนกรีตใช้งานเร็ว, คอนกรีตทนการกัดกร่อน ฯลฯ


 น้ำยาผสมคอนกรีตแบ่งตามมาตรฐาน ASTM C494 เป็น  7 ประเภท
               -ประเภท A เป็นน้ำยาลดน้ำ (water reducing)
               -ประเภท B เป็นน้ำยาหน่วงการก่อตัว (retarding)
               -ประเภท C เป็นน้ำยาเร่งการก่อตัว (accelerating)
               -ประเภท D เป็นน้ำยาลดน้ำ และ หน่วงการก่อตัว (water reducing & retarding)
               -ประเภท E เป็นน้ำยาลดน้ำ และ เร่งการก่อตัว (water reducing & accelerting)
               -ประเภท F เป็นน้ำยาลดน้ำปริมาณมาก (high range water reducing)
               -ประเภท G เป็นน้ำยาหน่วงการก่อตัว และ ลดน้ำปริมาณมาก (high range water reducing & retarding)


               โดยทั่วไปน้ำยาผสมคอนกรีตที่จำหน่ายในท้องตลาดจะอยู่ในมาตรฐาน  ASTM ที่กำหนดไว้และจะมีระบุไว้ในข้อมูลการใช้งาน สำหรับในปัจจุบันน้ำยาที่ใช้จะเป็นน้ำยาที่มีการเบลมกันหลายประเภทเพื่อให้คุณสมบัติของน้ำยามีจุดเด่นแตกต่างกันออกไปสำหรับความต้องการใช้งาน ทำให้มีคุณสมบัติน้ำยาที่นิยมในปัจจุบันอยู่ในประเภทลดน้ำปริมาณกลาง คือ ช่วยลดน้ำมากกว่าน้ำยาประเภท D แต่ต่ำกว่า ประเภท F และมีการหน่วงการก่อตัวเหมือนประเภท D ส่วนมากจะระบุเป็นประเภท A&D&G หรือ  B&D หรือ  A&D 
                การเลือกใช้งานน้ำยาขึ้นอยู่กับความต้องการ เช่น
               -ระยะเวลาการใช้งาน,เดินทาง จนเทเสร็จ
               -การรับกำลังตามอายุคอนกรีตที่ต้องการใช้งาน
               -คุณสมบัติคอนกรีตอื่นๆ ที่ต้องการมากกว่าคอนกรีตทั่วไป
               -คุณสมบัติ และ คุณภาพ ของวัตถุดิบที่ใช้ผสม
               -ต้นทุน


 สำหรับน้ำยาผสมคอนกรีตของ FOSROC มีข้อแนะนำผลิตภัณฑ์ดังนี้
               -Conplast 255 เป็นกลุ่มน้ำยาประเภท D เหมาสำหรับงานคอนกรีตผสมเสร็จ 
               -Conplast 510 TH เป็นกลุ่มน้ำยาประเภท B&D เหมาะกับงานคอนกรีตผสมเสร็จที่ไม่ใช้ หรือ ใช้เถ้าลอย
               -Conplast 518TH, Conplast SP 304 เป็นกลุ่มน้ำยาประเภท A&D&G เหมาะสำหรับคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้ หรือ ไม่ใช้เถ้าลอย แต่ต้องการกำลังอัด และ ค่าความข้นเหลวที่สูงขึ้น มีค่าความสามารถในการไหลได้ดี
               -Conplast SP 431 TH เป็นน้ำยาประเภท G เหมาะกับงานคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้ หรือ ไม่ใช้เถ้าลอย ที่ต้องการกำลังเร็วที่ 1,3 และ 7 วัน และ ให้เวลาการทำงานมากกว่า 2 ชั่วโมง
               -Conplast SP 428, Conplast SP 430 TH  เป็นกลุ่มน้ำยาประเภท F เหมาะกับงานเสาเข็มแผ่นพื้นอัดแรง ให้กำลังใช้งานเร็ว ที่ 19-24 ชั่วโมง ให้เวลาใช้งานคอนกรีต 1-1.30 ชั่วโมง
               -Conplast SP 430ES เป็นกลุ่มน้ำยาประเภท F เหมาะกับงานเสาเข็มแผ่นพื้นอัดแรง ทีต้องการกำลังใช้งานสูงมาก ที่ 19-24 ชั่วโมง ให้เวลาใช้งานคอนกรีต 1-1.30 ชั่วโมง

                     ต้องการรายละเอียดการใช้งาน และ ข้อมูลอัตราส่วนผสมเพิ่มเติมโปรดติดต่อเรา




เกี่ยวกับคอนกรีตที่น่าสนใจ

ทางเลือกการใช้เถ้าลอย article
คอนกรีตใช้งาน 24 ชั่วโมง article
คอนกรีตห้องเย็น article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.